"ยินดีต้อนรับทุกท่านที่มาเยือน""
หน้าแรกเว็บไซต์
ข้อมูลทั่วไป / สภาพตำบล
ระบบบริหารงานบุคคล
โครงสร้างหน่วยงาน
คณะผู้บริหาร
สมาชิกสภาฯ
หัวหน้าส่วน
สำนักปลัด
กองคลัง
กองช่าง
กองการศึกษา
หน่วยงานตรวจสอบภายใน
แผนขับเคลื่อนหน่วยงาน
ทะเบียนประวัติ
อำนาจหน้าที่
กฎหมาย / พรบ.ที่เกี่ยวข้อง
ช่องทางการร้องเรียนการทุจริต
แผนปฏิบัติการป้องกันการทุจริต
คำถามที่พบบ่อย
การร้องเรียนการทุจริต
ข่าวประชาสัมพันธ์
ข่าวประมูล จัดซื้อ จัดจ้าง
แหล่งท่องเที่ยว
E-Service
สินค้า OTOP
ภาพกิจกรรม
ติดต่อ อบต.
ช่องทางรับฟังความคิดเห็น
 
ผลสำรวจความพึงพอใจของประชาชน
 
 
 
 
ศูนย์ข้อมูลข่าวสารราชการ
สิทธิประโยชน์ของผู้พิการในการเข้าถึงบริการของรัฐ
ฐานข้อมูลผู้สูงอายุ ผู้พิการ และผู้ป่วยเอดส์
งานสาธารณสุข
 
การบริหารจัดการความเสี่ยง
 
สินค้า OTOP
ต้นกก นำมาใช้ทำเสื่อกก
ผลิตภัณฑ์เสื่อกก
สับปะรด และผลิตภัณฑ์จากสับปะรด
ไร่สับปะรด
 
รวมลิงค์ อบต.
 
 

สถิติการเข้าชมเว็บไซต์

วันนี้ : 7 ครั้ง

เมื่อวานนี้ : 14 ครั้ง

เดือนนี้: 477 ครั้ง

ปีนี้: 1,368 ครั้ง

 
 
Untitled Document
แหล่งท่องเที่ยวตำบลห้วยไคร้
 
ดอยตุง
 
พระธาตุดอยตุง
ตั้งอยู่บริเวณ กม. ที่ 17.5 ของทางหลวงหมายเลข 1149 อยู่ในเขต หมู่ 2 บ้านห้วยไคร้ใหม่ ตำบลห้วยไคร้ อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย (เขต อบต.ห้วยไคร้) องค์พระธาตุดอยตุงเป็นที่บรรจุพระรากขวัญเบื้องซ้าย (กระดูกไหปลาร้า) ของพระพุทธเจ้า นำมาจากมัธยมประเทศ นับเป็นครั้งแรกที่พระพุทธศาสนาลัทธิลังกาวงศ์ ได้มาประดิษฐานที่ล้านนาไทย เมื่อก่อสร้างพระสถูปบรรจุพระบรมสารีริกธาตุนี้ ได้ทำธงตะขาบ (ภาษาพื้นเมืองเรียกว่า ตุง) ใหญ่ยาวถึงพันวา ปักไว้บนยอดดอย ถ้าหากปลายธงปลิวไปไกลถึงเมืองไหน ก็จะกำหนดเป็นฐานพระสถูป เหตุนี้ดอยซึ่งเป็นที่ประดิษฐานปฐมเจดีย์แห่งล้านนาไทย จึงปรากฏนามว่า ดอยตุง พระธาตุดอยตุงเป็นปูชนียสถานที่สำคัญ เมื่อถึงเทศกาลนมัสการพระธาตุดอยตุงในวันเพ็ญเดือน 3 จะมีพุทธศาสนิกชนทั้งชาวไทยและเพื่อนบ้านจากประเทศใกล้เคียง เช่น ชาวเชียงตุงในรัฐฉาน ประเทศสหภาพพม่า ชาวหลวงพระบาง เวียงจันทน์ เดินทางเข้ามานมัสการทุกปี พระธาตุดอยตุงถือเป็นพระธาตุประจำปีเกิดของคนเกิดปีกุน ที่นิยมมาสักการะเพื่อความเป็นสิริมงคล
 
ตามตำนาน
มีว่า เดิมสถานที่ตั้งพระบรมธาตุดอยตุง มีชื่อว่า ดอยดินแดง อยู่บน เขาสามเส้น ของพวกลาวจก เมื่อปี พ.ศ. 1452 พระมหากัสสะปะเถระเป็นประธานฝ่ายสงฆ์ได้อาราธนาอัญเชิญเอายังพระบรมสารี ริกธาตุกระดูกไหปลาร้า(พระรากขวัญเบื้องซ้าย) ของพระพุทธเจ้า มามอบถวายแด่พระเจ้าอุชุตราชเจ้าผู้ครองนครนาคพันธ์โยนกชัยบุรี รัชกาลที่ 3 แห่งราชวงศ์สิงหนวติ ผู้ครองนครโยนกนาคนคร เป็นประธานพร้อมด้วยมุขมนตรีเสวกอำมาตย์ไพร่ฟ้าข้าแผ่นดินของพระองค์ ได้นำเอาพระบรมสารีริกธาตุขึ้นมาบรรจุสร้างขึ้น ณ ที่ดอยดินแดง (คือดอยตุงปัจจุบัน) พระมหากัสสป ได้นำพระบรมสารีริกธาตุในส่วนของพระรากขวัญเบื้องซ้าย (ไหปลาร้า) ของพระพุทธเจ้ามาถวาย ซึ่งตรงตามคำทำนายของพระพุทธองค์ว่า " ที่ดอยดินแดงแห่งนี้ ต่อไปจะเป็นที่ประดิษฐานพระมหาสถูปบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ในภายภาคหน้า" พระเจ้าอุชุตะราช มีพระราชศรัทธา ได้เรียกหัวหน้าลาวจกมาเฝ้า พระราชทานทองคำจำนวนแสนกษาปณ์ ให้เป็นค่าที่ดินบริเวณดอยดินแดงแก่พวกลาวจก แล้วทรงสร้างพระสถูปขึ้น โดยนำธงตะขาบยาว 3,000 วา ไปปักไว้บนดอย เมื่อหางธงปลิวไปไกลเพียงใด ให้กำหนดเป็นฐานพระสถูปเพียงนั้น ดอยดินแดงจึงได้ชื่อใหม่ว่า ดอยตุง (คำว่า ตุง แปลว่า ธง) เมื่อสร้างพระสถูปเสร็จ ก็ได้นำพระบรมสารีริกธาตุดังกล่าวบรรจุไว้ให้คนสักการบูชา ต่อมาอีก 100 ปี สมัยพระเจ้าเม็งรายมหาราช แห่งราชวงศ์ลาวจก พระมหาวชิระโพธิเถระได้นำพระบรมสารีริกธาตุมาถวาย จำนวน 50 องค์ พระเจ้าเม็งรายจึงโปรดเกล้า ฯ ให้สร้างพระสถูปบรรจุพระบรมสารีริกธาตุขึ้นอีกองค์หนึ่ง เหมือนกับพระสถูปองค์เดิมทุกประการ พร้อมได้ปฏิสังขรณ์องค์เดิม ตั้งคู่กัน จากนั้นมาก็ไม่ปรากฏหลักฐานรายนามผู้บูรณะปฏิสังขรณ์ พระธาตุดอยตุงแต่เดิมมีองค์เดียว รูปแบบการก่อสร้างก่อเป็นศิลปะเชียงแสนย่อมุมไม้สิบสองคล้ายกับพระธาตุดอยสุเทพ เมืองเชียงรายสมัยก่อนเป็นเมืองร้างอยู่หลายครา พระธาตุดอยตุงจึงขาดการบูรณปฏิสังขรณ์ ตัวพระธาตุทรุดโทรมและพังทลายลง นับตั้งแต่พญามังรายได้สร้างเจดีย์อีกองค์ใกล้กัน อีกองค์หนึ่งจึงทำให้พระธาตุดอยตุงมีสององค์ ปัจจุบันพระธาตุเป็นสีทองขนาดเล็กสององค์ สูงประมาณ 5 เมตร บนฐานสี่เหลี่ยมย่อมุม มีซุ้มจระนำสี่ทิศ องค์ระฆังและปลียอดมีขนาดเล็ก พระธาตุดอยตุง อยู่บนดอยสูงแวดล้อมด้วยป่ารกครึ้ม เรียกว่า สวนเทพารักษ์ เชื่อกันว่า เป็นที่สถิตของเทพารักษ์และสิ่งศักดิ์สิทธิ์

ต่อมาเมื่อปี พ.ศ.2470 องค์พระธาตุทรุดโทรมมาก ครูบาศรีวิชัย นักบุญผู้ยิ่งใหญ่แห่งลำพูนพร้อมด้วยคณะศรัทธาชาวพุทธ ประชาชนชาวเมืองเชียงรายได้ทำการปฏิสังขรณ์องค์พระเจดีย์ พระวิหาร พระประธาน โดยสร้างเป็นเจดีย์องค์ระฆังขนาดเล็กสององค์บนฐานแปดเหลี่ยม ตามศิลปะแบบล้านนา กาลเวลาผ่านพ้นมานานวิหารและพระประธานก็ถูกภัยธรรมชาติครอบงำชำรุดทรุดโทรมไปตามกาลเวลา ส่วนองค์พระเจดีย์นั้นยังมีรูปทรงปกติดีอยู่ ต่อมาประมาณปี พ.ศ.2499 ได้มีอุบาสิกาผู้หนึ่งอยู่ในจังหวัดพะเยา ชื่อว่า นางทองคำ ฮั้นตระกูล ได้มีกุศลเจตนาอันยิ่งใหญ่ ทำการลงรักปิดทองพระเจดีย์ทั้ง 2 องค์ ให้เหลืองอร่ามไปทั่ว ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2500 องค์สรภาณมธุรส(บ๋าวเอิง) เจ้าอาวาสวัดสมานัมบริหาร กทม. พร้อมด้วยอุบาสิกา ทองคำ ฮั้นตระกูล ได้ทำการก่อสร้างอุโสถขึ้นหนึ่งหลังพร้อมทั้งพระประธานในอุโบสถ พระสาวก หมอชีวกโกมารภัจ ต่อมาเมื่อประมาณปี พ.ศ.2507 ก็ได้มีการดำริในการที่จะบูรณะองค์พระธาตุดอยตุงครั้งใหญ่ ซึ่งได้ใช้เวลาเตรียมการและหาทุนต่อเนื่องกันมาเป็นเวลาหลายปี การบูรณะครั้งหลังสุด มีขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2516 โดยกระทรวงมหาดไทย ได้ดำเนินการก่อสร้างเสร็จไป 1 องค์ พระธาตุ 2 วิหารหลวงที่ประดิษฐานพระประธานสิงห์หนึ่งเชียงแสน 3 พระประธานสิงห์หนึ่ง ซึ่งได้กราบทูลสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เสด็จมาเป็นองค์เททอง ในการบูรณะครั้งนี้ได้มีการเปลี่ยนแปลงรูปทรงองค์พระเจดีย์กันใหม่ ออกแบบโดยอาจารย์ประกิต(จิตร์) บัวบุศน์ องค์พระเจดีย์บุด้วยกระเบื้องโมเสดสีทอง มีซุ้มประดิษฐานพระพุทธรูป 8 ซุ้ม มีฉัตรประดับทั้ง 4 มุมดังที่เห็นปรากฏวันนี้ โดยสร้างพระธาตุองค์ใหม่ขึ้นครอบพระเจดีย์เดิมไว้ ต่อมาประมาณปี พ.ศ.2525 ได้มีอุบาสกคนหนึ่งชื่อ ไศลยนต์ ศรีสมุทร์ เจ้าของและผู้จัดการตลาดแม่สาย ได้มีกุศลเจตนาอันแรงกล้า ได้ทำการเทลานพระธาตุและพร้อมกันนั้นทางวัดก็ได้ทำการก่อสร้างรั้วรอบบริเวณลานพระธาตุอีกโสดหนึ่ง

ปัจจุบัน กรมศิลปากรมีโครงการรื้อถอน องค์พระธาตุองค์ปัจจุบัน โดยให้เหตุผลว่า เพื่อเป็นไปตามร้องขอของคนท้องถิ่นไปทางจังหวัด และส่งต่อมายังสำนักโบราณคดีเชียงใหม่ ให้ช่วยฟื้นฟูพระสถูปในสมัยครูบาศรีวิชัย นักบุญแห่งล้านนา ได้บูรณะไว้ตามภาพถ่ายที่ปรากฏอยู่ในวิหารพระธาตุดอยตุง เนื่องจากพระธาตุองค์ปัจจุบัน 2 องค์ที่ตั้งอยู่เวลานี้ เป็นของใหม่ ได้มีการบูรณะเมื่อสามสิบปีเศษที่แล้ว ออกแบบโดยนายช่างสถาปนิกกรุงเทพฯ และเข้าใจว่าพระสถูปเดิมสมัยครูบาได้บูรณะไว้เมื่อแปดสิบปีที่แล้ว อาจถูกทับ คล่อมอยู่ภายในองค์ปัจจุบัน ซึ่งคณะทำงานได้มีการหารือทางเจ้าคณะอำเภอเรียบร้อยแล้ว และได้ให้นำ พระสถูปเดิมที่ถอดออกมา ไปตั้งไว้ที่วัดพระธาตุน้อยดอยตุง อยู่ด้านล่างก่อนขึ้นดอยพระธาตุ จากนั้นทำการบูรณะพระสถูปเจดีย์ ครูบาศรีวิชัย ให้คืนกลับมาสภาพดังเดิมให้แล้วเสร็จก่อนเดือนธันวาคม 2550 ในปีหน้า โดยมีงบประมาณทั้งสิ้น 21 ล้านบาท รวมค่าปรับปรุงภูมิทัศน์ อาทิเช่น ปรับปรุงพื้นที่ลานพระธาตุให้กว้างขึ้น รื้อโรงเก็บวัสดุอุปกรณ์ เคลื่อนย้ายพระสังกัจจาย พระพุทธรูปองค์ใหญ่ในรูปปางต่างๆ นำไปตั้งประดิษฐานในสถานที่ที่เหมาะสม ปรับปรุงภูมิทัศน์ฐานบันไดนาคทางขึ้น เพื่อความสะดวกต่อพุทธศาสนิกชน ซึ่งไปนมัสการพระธาตุเป็นจำนวนมากของทุกปี

ชาวเชียงราย มีประเพณีการเดินขึ้นดอยบูชาพระธาตุ ซึ่งจัดเป็นประจำทุกปี พระธาตุดอยตุง ถูกกำหนดให้เป็นพระธาตุเจดีย์ของผู้ที่เกิดปีกุญ เนื่องเพราะปู่เจ้า ลาวจกและพระยามังราย ต้นวงศ์กษัตริย์เชียงใหม่ต่างก็ประสูติใน "ปีกุญ"

โดยมีเรื่องเล่าว่าได้มีการนำพระบรมธาตุมาบรรจุที่ดอยตุงถึง 3 ครั้ง แต่ละครั้งก็จะมีการก่อเจดีย์ขึ้นด้วย แต่มีเพียง 2 องค์เท่านั้นที่ได้รับการบูรณะและอยู่มาจนถึงปัจจุบัน ซึ่งพระเจดีย์ทั้ง 2 องค์นี้เป็นที่ประดิษฐานของพระบรมธาตุส่วนไหปลาร้า และพระธาตุย่อยองค์พระธาตุบรมธาตุเจดีย์ อยู่สูงจากระดับน้ำทะเล ประมาณ 2000 เมตร
 
หลุมตุง
อยู่ใกล้ ๆ กับพระธาตุดอยตุงเป็นหลุมสำหรับปักตุงของพระมหากัสสป ปัจจุบันได้รับการดูแลอย่างดี มีการกั้นรั้วล้อมไว้เป็นสัดส่วน
 
ตุง
ตุง นับเป็นสัญลักษณ์อีกอย่างหนึ่งของชาวล้านนา หมายถึง ความเจริญรุ่งรุ่ง การมีชัยชนะ ในวัดจะมี รอยปักตุง เป็นรอยแยกบนพื้น ยาวประมาณ 1 ฟุต อยู่ด้านหน้าพระธาตุ เชื่อกันว่า เป็นรอยแยกที่ใช้ปักฐานตุงบูชาพระธาตุ สร้างมาประมาณ 1,000 ปีแล้ว พระบรมธาตุดอยตุงเป็นที่เคารพสักการะของชาวล้านนา ทุกปีจะมีงานนมัสการพระบรมธาตุในวันเพ็ญเดือน 3

สำหรับท่านที่ขึ้นมานมัสการพระธาตุนั้น ท่านจะสังเกตเห็นว่าวัดพระธาตุดอยตุงนั้นจะมีบริเวณ 2 เขตด้วยกันคือ ชั้นบนนั้นจะเป็นเขตพุทธาวาส นับเอาตั้งแต่ประตูวัดที่มียักษ์นั่งถือขวานอยู่นั้นขึ้นไป ท่านห้ามไม่ให้ใครทำสกปรกรุงรัง เช่น ถ่ายหนัก ถ่ายเบา เพราะห้องน้ำไม่มี จากที่ประตูวัดลงมา 1 กิโลเมตร เป็นเขตสังฆาวาส เป็นที่อยู่พำนักของพระสงฆ์องค์เณรและประชาชนทั่วไป ก่อนขึ้นมานมัสการพระธาตุ กรุณาจอดรถเข้าห้องน้ำให้เรียบร้อยก่อนที่วัดน้อย 1 กิโลเมตร
 
คำไหว้บูชาพระบรมธาตุ
นโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ (3 จบ)
พิมพา ธะชัคคะ ปัพพะเต นะจุฬาธาตุ จิรงมะหาคะมานะ มามิหัง อะหัง วันทามิ สัพพะทา
 
อ้างอิงจาก วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี และ oceansmile.com
 
 
ค้นในGoogle ค้นใน Huaikrai.go.th
ท่องเที่ยวเชียงราย
เชียงรายโฟกัส ดอทคอม | ททท.ภาคเหนือเขต2 | ศูนย์บริหารจัดการท่องเที่ยวเชียงราย | สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬา จ.เชียงราย | ตำรวจท่องเที่ยวเชียงราย
ข่าวสารท้องถิ่น
จังหวัดเชียงราย | สวท.เชียงราย | เชียงรายทูเดย์ | เชียงรายโฟกัส ดอทคอม
สถาบันการศึกษา
มหาวิทยาราชภัฏเชียงราย | มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง | รร.พาณิชยการเชียงราย | รร.วิรุณบริหารธุรกิจ | รร.เทคโนโลยีกรุงธนเชียงราย | วิทยาลัยเทคนิคเชียงราย
ออนไลน์ใช้งานอยู่ 1คน ผู้ชมเว็บ 452202 ครั้ง
เว็บไซต์แห่งนี้รองรับการแสดงผลได้ดี ที่ขนาดจอภาพ 1024 x 800 พิกเซล
องค์การบริหารส่วนตำบลห้วยไคร้้
อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย
โทร. 0-5376-3543 แฟกซ์ 053-763256
สำนักปลัด โทร 063- 9149759
E-mail : saraban@huaikrai.go.th

Copyright © 2024 www.huaikrai.go.th. All Rights Reserved :: Design by Chiangrai Enter Soft ::